หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

22.ภาคผนวก (Appendix)



   
        http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า ภาคผนวก (Appendix)สิ่งที่เอาไว้ที่ภาคผนวก เช่น แบบสอบถาม แบบฟอร์มในการเก็บ หรือบันทึกข้อมูล เป็นต้น เมื่อภาคผนวก มีหลายภาค ให้ใช้เป็น ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค แต่ภาคผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่

        http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า สิ่งที่นิยมเอาไว้ที่ภาคผนวก เช่น แบบสอบถาม แบบฟอร์มในการเก็บหรือบันทึกข้อมูล เมื่อภาคผนวก มีหลายภาค ให้ใช้เป็น ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ฯลฯ แต่ละภาคผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่

         ดร.พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2544 : 392). ได้กล่าวว่า  ภาคผนวกเป็นรายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่ต้องนำเสนอยืนยันเพื่อแสดงถึงการดำเนินการวิจัยอย่างเป็นระบบ และเพิ่มความน่าเชื่อถือของผลงานวิจัยอีกทั้งจะเป็นการช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจรายงานการวิจัยได้ดียิ่งขึ้น และได้เห็นแบบอย่างหรือแนวทางการดำเนินงานในบางประการ ภาคผนวกมีหลายลักษณะซึ่งอาจนำเสนอแยกเป็นหมวดหมู่เป็นภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค ฯลฯ และอาจเรียงลำดับตามขั้นตอนของกระบวนการวิจัย

สรุป
          ภาคผนวก (Appendix)  เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือหรืองานเขียนที่นำมาจัดไว้ตอนท้ายเนื้อเรื่องของหนังสือหรือหรือสิ่งพิมพ์ ส่วนที่นำมาจัดไว้ในภาคผนวกนี้ ได้แก่ ตารางสถิติ แผนที่ รายชื่อ หรือคำอธิบายที่ยาวเกินกว่าจะรวมไว้ในเนื้อหาหรือในรายการเชิงอรรถของหนังสือ รายการในภาคผนวกนี้เป็นส่วนที่นำมาเสริมเนื้อหาของหนังสือให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยทั่วไปภาคผนวกจะปรากฏอยู่ตอนท้ายของเนื้อเรื่อง ตามด้วยหมายเหตุ อภิธานศัพท์ บรรณานุกรม และดัชนี ถ้ารายการในภาคผนวกนี้มีความสำคัญพอ บรรณารักษ์ผู้ทำบัตรรายการจะระบุไว้ในบัตรรายการด้วย  ภาคผนวกในงานวิจัยหรือในวิทยานิพนธ์คือ ส่วนเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องใน วิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ ที่ผู้ทำวิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ นำมาแสดงประกอบไว้เพื่อให้ วิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ก่อนรายการภาคผนวกให้มีหน้าบอกตอนภาคผนวก

อ้างอิง
        http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm.เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2556.
        http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2556.
        พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2544). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสัมคมศาสตร์.กรุงเทพฯ :
 ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร.




21.เอกสารอ้างอิง (References)

       http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า ในวิทยานิพนธ์ แต่ละเรื่อง จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเขียนวิทยานิพนธ์เรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก (การเขียน เอกสารอ้างอิง ให้อนุโลม ตามคู่มือ การพิมพ์วิทยานิพนธ์ ของบัณฑิตวิทยาลัย)    การเขียนเอกสารอ้างอิงตาม "Vancouver Style"ให้เรียบลำดับ ด้วยนามสกุล ของผู้เขียน ตามด้วยอักษรย่อ ของชื่อต้น และชื่อกลาง ทุกคน แต่ถ้าผู้เขียน มากกว่า 6 คน ให้เขียนเพียง 6 คน แล้วตามด้วย et al


       http://www.unc.ac.th/lib/weblib/reference.html ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า การอ้างอิง หมายถึง การบอกแหล่งที่มาของข้อความที่ใช้อ้างอิง ในเนื้อหาที่นำมาเขียนเรียบเรียง ปัจจุบันในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ นิยมใช้ คือ

1. การอ้างอิงแบบแทรกปนในเนื้อหา ซึ่งมี 2 ระบบ (ส่งศรี ดีศรีแก้ว, 2534 : 78) คือ

     1.1 ระบบนาม - ปี ( Author - date) ระบบนาม - ปี เป็นระบบที่มีชื่อผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์ และเลขหน้า ที่อ้างอิงอยู่ภายในวงเล็บ ดัง
     1.2  ระบบหมายเลข (Number System)  เป็นระบบที่คล้ายคลึงกับระบบนาม - ปี แต่ระบบนี้จะใช้หมายเลขแทนชื่อผู้แต่งเอกสาร

             อ้างอิง มีอยู่ 2 วิธี คือ

             1.2.1 ให้หมายเลขตามลำดับของการอ้างอิง

             1.2.2 ให้หมายเลขตามลำดับอักษรผู้แต่ง


        http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า เอกสารอ้างอิง (references)หรือ บรรณานุกรม (bibliography) ตอนสุดท้ายของโครงร่างการวิจัย  จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเอกสารวิจัยเรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก โดยรูปแบบที่ใช้ควรเป็นไปตามสากลนิยม เช่น Vancouver Style หรือ APA(American Psychological Association) style
  

สรุป

     หนังสืออ้างอิง (Reference Books) คือหนังสือที่ใช้เรื่องราวและข้อเท็จจริง เพื่อใช้ค้นคว้าอ่านประกอบ หรืออ้างอิงเรื่องราวเพียงตอนใดตอนหนึ่งในเล่มเท่านั้น ไม่ใช้หนังสือที่ต้องอ่านทั้งเล่ม เพื่อความสะดวกในการค้นคว้า ห้องสมุดจะจัดแยกหนังสืออ้างอิงออกจากหนังสือธรรมดาและไม่อนุญาตให้ยืมออกนอกห้องสมุดหนังสืออ้างอิงจะมีลักษณะทั่วๆไปดั้งนี้

1.เป็นหนังสือที่มุ่งให้ข้อเท็จจริงและความรู้เป็นสำคัญ

2.รวบรวมความรู้ในสาขาวิชาต่างๆมีขอบเขตกว้างขวางเพื่อใช้ตอบปัญหาทั่วๆไป

3.เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิหลายๆท่าน แต่ละท่านเป็นผู้ที่ มีความรู้ความชำนาญในเรื่องนั้นๆอย่างแท้จริง

4.จัดเรียบเรียงเนื้อเรื่องไว้อย่างมีระเบียบ เพื่อให้ใช้ได้สะดวกและรวดเร็ว

5.มักมีขนาดแตกต่างจากหนังสือธรรมดา เช่นขนาดใหญ่กว่า มีความยาวมาก

6.ไม่จำเป็นต้องอ่านตลอดทั้งเล่ม

7.ไม่อนุญาตให้ยืมออกนอกห้องสมุด เพราะ

   7.1 เป็นหนังสือที่ใช้อ่านชั่วคราวไม่ต้องอ่านทั้งเล่ม

   7.2 ราคาค่อนข้างแพง

   7.3 มักมีขนาดใหญ่

   7.4 บางทีเป็นชุดมีหลายจบ ถ้าเล่มใดเล่มหนึ่งหายไป จะทำให้ประโยชน์ของหนังสือชุดนั้นขาดความสมบูรณ์ไป

   7.5 หนังสืออ้างอิงมีผู้ใช้มาก ห้องสมุดจำเป็นต้องจัดหนังสือเหล่านี้ไว้ให้พร้อมสำหรับผู้ใช้อยู่เสมอ

         หนังสืออ้างอิงภาษาไทยจะมีอักษร อ (อ้างอิง) และหนังสืออ้างอิงภาษาอังกฤษจะมี R หรือ Ref (Reference)อยู่เหนือเลขเรียกหนังสือทุกเล่ม


อ้างอิง


      http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm.เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2556.

      http://www.unc.ac.th/lib/weblib/reference.html.เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2556.

      http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2556.

20.งบประมาณ (Budget)


        http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า การคิดงบประมาณ ควรยึดแผนการดำเนินงาน และตารางปฏิบัติงาน เป็นหลัก โดยวิเคราะห์ ในแต่ละกิจกรรมย่อย ว่าต้องการทรัพยากร อะไรบ้าง จำนวนเท่าใด ต้องการตอนไหน ซึ่งตามปกติแล้ว ควรแจกแจง ในรายละเอียด อย่างสมเหตุสมผล กับเรื่องที่จะ ทำวิจัย และควรแยกออกเป็น
หมวด ๆ
     ก. หมวดบุคลากร โดยระบุว่า ต้องการบุคลากร ประเภทไหน มีคุณวุฒิ หรือความสามารถ อะไร จำนวนเท่าไร จะจ้าง ในอัตราเท่าไร เป็นระยะเวลาเท่าไร
     ข. หมวดค่าใช้สอย เป็นรายจ่าย เพื่อให้ได้มา ซึ่งบริการใด ๆ เช่น ค่าสื่อสาร ค่าธรรมเนียม ค่าจ้างเหมาบริการ ค่าถ่ายเอกสาร ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น เป็นต้น
     ค. หมวดค่าวัสดุ คือ รายจ่าย เพื่อซื้อสิ่งของ ซึ่งโดยสภาพ ย่อมสิ้นเปลือง เปลี่ยน หรือสลายตัว ในระยะเวลาอันสั้น รวมทั้งสิ่งของ ที่ซื้อมา เพื่อการบำรุงรักษา หรือซ่อมแซม ทรัพย์สิน เช่น ค่าสารเคมี ค่าเครื่องเขียน และแบบพิมพ์ ค่าเครื่องแก้ว และอุปกรณ์ไม่ถาวร ฟิลม์ อ๊อกซิเจน เป็นต้น
     ง. หมวดค่าครุภัณฑ์ คือ รายจ่าย เพื่อซื้อของ ซึ่งตามปกติ มีลักษณะ คงทนถาวร มีอายุการใช้ยืนนาน โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว มีบางแหล่งทุน ไม่อนุญาต ให้ใช้หมวดนี้ นอกจาก มีความจำเป็นจริง ๆ ซึ่งต้องเสนอ ให้พิจารณาเป็นราย ๆ ไป
    การคิดงบประมาณ ต้องพิจารณาเงื่อนไข ของแต่ละแหล่งทุน ว่ามีระเบียบ ในเรื่องนี้ อย่างไรบ้าง เพราะแหล่งทุน แต่ละแห่ง มักจะมีระเบียบต่าง ๆ กัน
      
        http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:r-tPEABXNVgJ:www.imd.co.th /function.php%3Fid%3Dknowledge-8+&cd=3&hl=th&ct=clnk&gl=th ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า งบประมาณ (Budgeting) คือ การวางแผนการที่คาดว่าจะต้องจ่าย โดยการคิดล่วงหน้าและแสดงข้อมูลออกมาเป็นตัวเลข และอาจแสดงออกมาในรูปของตัวเงิน จำนวนชั่วโมงในการทำงาน จำนวนผลิตภัณฑ์จำนวน ชั่วโมงเครื่องจักร ค่าสึกหรอ ค่าโสหุ้ย เป็นต้น
       ความสำคัญของงบประมาณถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมต้นทุนโครงการ ตลอดจนแผนงานตั้งแต่ในระดับโครงการจนถึงการบริหารจัดการบริษัท และใช้เป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหาร ทำให้มีประสิทธิภาพในการวางแผนทางการเงินเนื่องจากเป็นแผนงานที่แสดงออกในลักษณะเชิงปริมาณจะที่เกิดขึ้นในเวลาที่กำหนด เช่น รายสัปดาห์ รายเดือน รายไตรมาส หรือ รายปี โดยทั่วไปงบประมาณจะจัดทำขึ้นปีละครั้ง จึงเรียกว่า งบประมาณประจำปี โดยปีงบประมาณมักจะเป็นไปตามรอบบัญชีของบริษัท เช่น เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมและสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม เป็นต้น ส่วนของภาครัฐจะเริ่มปีงบประมาณในวันที่ 1 ตุลาคม และสิ้นสุดปีงบประมาณในวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป งบประมาณจึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวางแผน กำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมายในการดำเนินงานทางธุรกิจ นอกจากนี้ยังสามารถนำงบประมาณไปใช้ในการควบคุมแผนงานก็จะช่วยให้ฝ่ายบริหารสามารถติดตามผลการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงานได้อย่างดี  
      ระบบงบประมาณแบบแผนงาน   งบประมาณแบบแผนงาน (Planning Program Budgeting : PPB หรือ Planning Program Budgeting System : PPBS) คือ การจัดเตรียมงบประมาณจากการเริ่มต้นด้วยการวางแผนงานที่จะให้การใช้จ่ายงบประมาณมีผลสำเร็จ ทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลไปพร้อมๆ กัน (Efficiency and Effectiveness) ซึ่งมีจุดเด่นในการวางแผนระยะยาว ตลอดจนการมุ่งบรรลุวัตถุประสงค์อย่างต่อเนื่อง และสามารถมีการจัดเตรียมงบต่อเนื่องที่ใช้ในการบริหารจัดการระยะยาวอีกด้วย เป็นการบริหารงานแบบครบองค์ไม่ใช่ดูแค่ส่วนใดส่วนหนึ่งของโครงการแต่ดูครอบคลุมภาพรวมโครงการในทุกส่วนนั่นเอง

        http://mbaru.blogspot.com/2010/01/blog-post_5112.html ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า งบประมาณ คือ รายละเอียดของแผนการดำเนินงานในการจัดหาและใช้จ่ายเงินและทรัพยากรอื่น ๆ สำหรับชั่วระยะเวลาหนึ่ง งบประมาณเป็นแผนงานในอนาคตที่แสดงเป็นตัวเลข กิจการใช้งบประมาณเป็นเครื่องมือในการควบคุมการดำเนินงาน เรียกว่า การควบคุมโดยงบประมาณ (Budgetary Control)   งบประมาณหลัก (Master Budget ) คืองบประมาณที่รวบรวมแผนงานและเป้าหมายในอนาคตทั้งหมดของกิจการในด้านการขาย การผลิต การจำหน่าย และการเงิน งบประมาณหลักประกอบด้วยงบประมาณดำเนินงาน ( Operating Budget) และงบประมาณการเงิน ( Financial Budget )

สรุป                                                                                                               
       งบประมาณ คือ รายละเอียดของแผนการดำเนินงานในการจัดหาและใช้จ่ายเงินและทรัพยากรอื่น ๆ สำหรับชั่วระยะเวลาหนึ่ง งบประมาณเป็นแผนงานในอนาคตที่แสดงเป็นตัวเลข กิจการใช้งบประมาณเป็นเครื่องมือในการควบคุมการดำเนินงาน เรียกว่า การควบคุมโดยงบประมาณ (Budgetary Control)   งบประมาณหลัก (Master Budget ) คืองบประมาณที่รวบรวมแผนงานและเป้าหมายในอนาคตทั้งหมดของกิจการในด้านการขาย การผลิต การจำหน่าย และการเงิน งบประมาณหลักประกอบด้วยงบประมาณดำเนินงาน ( Operating Budget) และงบประมาณการเงิน ( Financial Budget )  ซึ่งในการทำวิจัย ควรแยกออกเป็น หมวด ๆ
  ก. หมวดบุคลากร โดยระบุว่า ต้องการบุคลากร ประเภทไหน มีคุณวุฒิ หรือความสามารถ อะไร จำนวนเท่าไร จะจ้าง ในอัตราเท่าไร เป็นระยะเวลาเท่าไร
  ข. หมวดค่าใช้สอย เป็นรายจ่าย เพื่อให้ได้มา ซึ่งบริการใด ๆ เช่น ค่าสื่อสาร ค่าธรรมเนียม ค่าจ้างเหมาบริการ ค่าถ่ายเอกสาร ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น เป็นต้น
  ค. หมวดค่าวัสดุ คือ รายจ่าย เพื่อซื้อสิ่งของ ซึ่งโดยสภาพ ย่อมสิ้นเปลือง เปลี่ยน หรือสลายตัว ในระยะเวลาอันสั้น รวมทั้งสิ่งของ ที่ซื้อมา เพื่อการบำรุงรักษา หรือซ่อมแซม ทรัพย์สิน เช่น ค่าสารเคมี ค่าเครื่องเขียน และแบบพิมพ์ ค่าเครื่องแก้ว และอุปกรณ์ไม่ถาวร ฟิลม์ อ๊อกซิเจน เป็นต้น
  ง. หมวดค่าครุภัณฑ์ คือ รายจ่าย เพื่อซื้อของ ซึ่งตามปกติ มีลักษณะ คงทนถาวร มีอายุการใช้ยืนนาน โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว มีบางแหล่งทุน ไม่อนุญาต ให้ใช้หมวดนี้ นอกจาก มีความจำเป็นจริง ๆ ซึ่งต้องเสนอ ให้พิจารณาเป็นราย ๆ ไป 

อ้างอิง
    http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm.เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2556.
    http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:r-tPEABXNVgJ :www.imd.co.th/function.php%3Fid%3Dknowledge-8+&cd=3&hl=th&ct=clnk&gl=th.เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2556.
   http://mbaru.blogspot.com/2010/01/blog-post_5112.html.เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 7  มกราคม 2556.

19.การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน (Administration Benefits & Application)


         http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า การบริหารงานวิจัย คือ กิจกรรมที่ทำให้งานวิจัยนั้น สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยมีการวางแผน (planning) ดำเนินงานตามแผน (implementation) และประเมินผล (evaluation)ในการเขียนโครงร่างการวิจัย ควรมีผลการดำเนินงาน ตั้งแต่เริ่มแรก จนเสริจสิ้นโครงการ เป็นขั้นตอน ดังนี้
1. วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์
2. กำหนดกิจกรรม (activities) ต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ เช่น
    - ขั้นเตรียมการ (Preparatory Phase)
    - ขั้นปฏิบัติงาน (Implementation Phase)
    - ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล
    - ขั้นการเขียนรายงาน
3. ทรัพยากร (resources) ที่ต้องการ ของแต่ละกิจกรรม รวมทั้งเวลาที่ใช้ ในแต่ละขั้นตอน ทรัพยากรเหล่านั้น ที่มีอยู่แล้ว มีอะไรบ้าง และมีอะไร ที่ต้องการเสนอขอ จำนวนเท่าใด
4. การดำเนินงาน (Implementation) ต้องตัดสินใจ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การจัดสรรงบประมาณ และการรวบรวมข้อมูล สำหรับการบริหารงานบุคคล จำเป็นต้องดำเนินการวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ
   
       เสนาะ ติเยาว์ (2544 : 1) ได้กล่าวไว้ว่า การบริหารงานวิจัย คือ กระบวนการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งแยกตามสาระของความหมายนี้ได้ 5 ลักษณะ
1. การบริหารเป็นการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน
2. การบริหารทำให้งานบรรลุเป้าหมายขององค์การ
3. การบริหารเป็นความสมดุลระหว่างประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
4. การบริหารเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการบริหารจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
5. การบริหารที่จะประสบผลสำเร็จจะต้องสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง
        
         พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว (2545 : 728) การบริหารจัดการเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานการวิจัยให้ประสบความสำเร็จ ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวก คือ โครงการพื้นฐานต้องพอเพียงซึ่งหมายถึงงบประมาณการวิจัย นักวิจัยหน่วยงานเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้ระบบการวิจัยดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ หากมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูง

สรุป
        การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน (Administration Benefits & Application)เป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานการวิจัยให้ประสบความสำเร็จ ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวก คือ โครงการพื้นฐานต้องพอเพียงซึ่งหมายถึงงบประมาณการวิจัย นักวิจัยหน่วยงานเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้ระบบการวิจัยดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ หากมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งแยกตามสาระของความหมายนี้ได้ 5 ลักษณะ
1. การบริหารเป็นการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน
2. การบริหารทำให้งานบรรลุเป้าหมายขององค์การ
3. การบริหารเป็นความสมดุลระหว่างประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
4. การบริหารเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการบริหารจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
5. การบริหารที่จะประสบผลสำเร็จจะต้องสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง
ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
     1. วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์
     2. กำหนดกิจกรรม (activities) ต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้
     3. ทรัพยากร (resources) ที่ต้องการ ของแต่ละกิจกรรม รวมทั้งเวลาที่ใช้ ในแต่ละขั้นตอน ทรัพยากรเหล่านั้น ที่มีอยู่แล้ว มีอะไรบ้าง และมีอะไร ที่ต้องการเสนอขอ จำนวนเท่าใด
     4. การดำเนินงาน (Implementation) ต้องตัดสินใจ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การจัดสรรงบประมาณ และการรวบรวมข้อมูล

อ้างอิง
       http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm.เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 31ธันวาคม 2555.
       เสนาะ ติเยาว์(2544).หลักการบริหาร.พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
      พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว(2545).ศาสตร์แห่งการวิจัยทางการเมืองและสังคม.พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพมหานคร : สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย.

18.อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการวิจัยและมาตรการในการแก้ไข


         http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการวิจัยและมาตรการในการแก้ไข การทำวิจัย ต้องพยายามหลักเลี่ยงอคติ และความคลาดเคลื่อน ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ให้มากที่สุด เพื่อให้ผลการวิจัย ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยใช้รูปแบบการวิจัย, ระเบียบวิธีวิจัย และสถิติที่หมาะสม แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ เกิดขึ้น ดังนั้น การคำนึงเฉพาะ ความถูกต้องอย่างเดียว อาจไม่สามารถ ทำการวิจัยได้ กรณีดังกล่าว นักวิจัย อาจจำเป็นต้องมี การปรับแผนบางอย่าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือ ผู้วิจัย ต้องตระหนัก หรือรู้ถึงขีดข้อจำกัด ดังกล่าวนั้น และมีการระบุ ไว้ในโครงร่าง การวิจัยด้วย ไม่ใช่แกล้งทำเป็นว่า ไม่มีข้อจำกัดเลย จากนั้น จึงคิดหามาตรการในการแก้ไข อุปสรรคดังกล่าว อย่างไรก็ตาม อย่าให้ "ความเป็นไปได้" (feasibility) มาทำลาย ความถูกต้อง เสียหมด เพราะจะส่งผลให้ งานวิจัยเชื่อถือไม่ได้

          http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:L-VKB59W-1oJ :cptd.chandra.ac.th/%255Cselfstud%255Cresearch%255Cmjob9.htm+&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=th ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า  อุปสรรคของการวิจัยดำเนินงาน   ถึงแม้ว่าการวิจัยดำเนินงานจะมีประโยชน์ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานต่างๆได้มากมายก็ตาม แต่ก็มีอุปสรรคเช่นเดียวกับวิทยาการด้านอื่นๆ เมื่อจะนำไปประยุกต์ใช้งาน อุปสรรคของงานการวิจัยดำเนินงานเป็นไปในรูปแบบที่ว่า บุคคลที่มีบทบาทในวิชาชีพดังกล่าวมักต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลที่ไม่รู้และไม่ยอมรับหลักการที่เสนอให้ ตลอดจนต้องเกี่ยวข้องไปถึงความเข้าใจของเขาด้วย การไม่ยอมรับรู้อาจจะมีสาเหตุจากความไม่เข้าใจในวิธีการ หรือการไม่เห็นผลของการใช้วิธีการของการวิจัยดำเนินงานไปใช้ ทั้งนี้เป็นเพราะว่า การวิจัยดำเนินงานมีลักษณะที่ต้องใช้เวลาในการศึกษาปัญหาและหาวิธีการแก้ปัญหาจนกว่าจะแก้ปัญหานั้นได้ ซึ่งจะต้องใช้เวลาและยากที่จะควบคุมการดำเนินงานและประเมินผลงานนั้นๆ การที่ผู้ดำเนินการขาดความรู้ที่แท้จริงในปัญหาก็เป็นสาเหตุของความล้มเหลวของงานด้วยนอกจากนี้การขาดคุณสมบัติในการประชาสัมพันธ์ทำให้ขาดการรับรู้ต่อผลลัพธ์ที่ดี โดยวิธีการนี้ความล้มเหลวของประชาสัมพันธ์จะเกิดขึ้นจากลักษณะของรายงานที่ทำขึ้น ซึ่งมักอยู่ในรูปแบบการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ และเหมาะสำหรับผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในปัญหานั้นจริงๆเท่านั้น

         ภิรมย์ กมลรัตนกุล(2542:8) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า การทำวิจัย ต้องพยายามหลีกเลี่ยงอคติ และความคลาดเคลื่อน ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ให้มากที่สุด เพื่อให้ผลการวิจัย ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยใช้รูปแบบการวิจัย, ระเบียบวิธีวิจัย และสถิติที่เหมาะสม แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ เกิดขึ้น ดังนั้น การคำนึงเฉพาะ ความถูกต้องอย่างเดียว อาจไม่สามารถ ทำการวิจัยได้

สรุป
         อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการวิจัยและมาตรการในการแก้ไข การทำวิจัย ต้องพยายามหลักเลี่ยงอคติ และความคลาดเคลื่อน ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ให้มากที่สุด เพื่อให้ผลการวิจัย ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยใช้รูปแบบการวิจัย, ระเบียบวิธีวิจัย และสถิติที่หมาะสม แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ เกิดขึ้น ดังนั้น การคำนึงเฉพาะ ความถูกต้องอย่างเดียว อาจไม่สามารถ ทำการวิจัยได้ กรณีดังกล่าว นักวิจัย อาจจำเป็นต้องมี การปรับแผนบางอย่าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือ ผู้วิจัย ต้องตระหนัก หรือรู้ถึงขีดข้อจำกัด ดังกล่าวนั้น และมีการระบุ ไว้ในโครงร่าง การวิจัยด้วย ไม่ใช่แกล้งทำเป็นว่า ไม่มีข้อจำกัดเลย จากนั้น จึงคิดหามาตรการในการแก้ไข อุปสรรคดังกล่าว อย่างไรก็ตาม อย่าให้ "ความเป็นไปได้" (feasibility) มาทำลาย ความถูกต้อง เสียหมด เพราะจะส่งผลให้ งานวิจัยเชื่อถือไม่ได้

อ้างอิง
       http://cai.md.chula.ac.th /lesson/research/re12.htm.เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 30ธันวาคม 2555.
       http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache :L-VKB59W-1oJ:cptd. chandra.ac.th/%255Cselfstud%255Cresearch%255Cmjob9.htm +&cd=1&hl=th&ct =clnk&gl=th.เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2555.
        ภิรมย์ กมลรัตนกุล.(2542).หลักเบื้องต้นในการทำวิจัย. กรุงเทพมหานคร : เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่น จำกัด.

17.ผลหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย (expected benefits and application)


         http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า ผลหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย (expected benefits and application)  เป็นการย้ำ ถึงความสำคัญ ของงานวิจัยนี้ โดยกล่าวถึง ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ จากการวิจัย อย่างชัดเจน ให้ครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใครเป็นสำคัญ ยกตัวอย่าง เช่น โครงการวิจัยเรื่อง การฝึกอบรมอาสาสมัคร ระดับหมู่บ้าน ผลในระยะสั้น ก็อาจจะได้แก่ จำนวนอาสาสมัครผ่านการอบรมในโครงนี้ ส่วนผลกระทบ (impact) โดยตรง ในระยะยาว ก็อาจจะเป็น คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนั้น ที่ดีขึ้น ส่วนผลทางอ้อม อาจจะได้แก่ การกระตุ้นให้ประชาชน ในชุมชนนั้น มีส่วนร่วม ในการพัฒนาหมู่บ้าน ของตนเอง       
                                                                                                                                                                              
http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:2N5IGMGT878J :www.gotoknow.org/posts/494556+&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=th ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า ประโยชน์ของผลการวิจัย เขียนให้สอดคล้องกับวัตุประสงค์
    1. เขียนให้ชัดเจนว่าให้ประโยชน์ออกมาในรูปใด และเป็นผลโดยตรงจากเรื่องที่วิจัย เช่น.. ประโยชน์วิจัยแล้วได้อะไร ตกแก่ใคร   นำไปใช้ทำอะไร
    2. เขียนบรรยายเป็นข้อๆ ให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการวิจัย(วัตถุประสงค์ของการวิจัย)
    3. ข้อควรระวัง คือ ไม่ควรขยายความสำคัญของผลการวิจัยให้กว้างเกินความเป็นจริง

        http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/impact1.htm ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย เป็นความสำคัญของการวิจัยที่ผู้วิจัยพิจารณาว่าการวิจัยเรื่องนั้นทำให้ทราบผลการวิจัยเรื่องอะไร และผลการวิจัยนั้นมีประโยชน์ต่อใคร อย่างไร เช่น การระบุประโยชน์ที่เกิดจากการนำผลการวิจัยไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มพูนความรู้ หรือนำไปเป็น แนวทางในการปฏิบัติ หรือแก้ปัญหา หรือพัฒนาคุณภาพ หลักในการเขียนมีดังนี้
1. ระบุประโยชน์ที่อาจเกิดจากผลที่ได้จากการวิจัย
2. สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และอยู่ในขอบเขตของการวิจัยที่ได้ศึกษา
3. ในกรณีที่ระบุประโยชน์มากกว่า 1 ประการ ควรระบุเป็นข้อ
4. เขียนด้วยข้อความสั้น กะทัดรัด ชัดจน
5. การระบุนั้นผู้วิจัยต้องตระหนักว่ามีความเป็นไปได้

สรุป
    ผลหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย (expected benefits and application)  เป็นการย้ำ ถึงความสำคัญ ของงานวิจัยนี้ โดยกล่าวถึง ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ จากการวิจัย อย่างชัดเจน ให้ครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใครเป็นสำคัญ หลักในการเขียนมีดังนี้
1. ระบุประโยชน์ที่อาจเกิดจากผลที่ได้จากการวิจัย
2. สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และอยู่ในขอบเขตของการวิจัยที่ได้ศึกษา
3. ในกรณีที่ระบุประโยชน์มากกว่า 1 ประการ ควรระบุเป็นข้อ
4. เขียนด้วยข้อความสั้น กะทัดรัด ชัดจน
5. การระบุนั้นผู้วิจัยต้องตระหนักว่ามีความเป็นไปได้

อ้างอิง
     http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/ re 12. htm.เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 29ธันวาคม 2555.
     http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:2N5IGMGT878J: www.gotoknow.org/posts/494556+&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=th.เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2555.
     http://www.unc.ac.th /elearning/elearning1/Duddeornweb/impact1.htm .เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2555.

16.ข้อจำกัดในการวิจัย(Limitation)/ขอบเขตการทำวิจัย


http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:_Gj5CxV19NEJ :www.gotoknow .org/posts/399983+&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=th ได้กล่าวและสรุปไว้ว่า การเขียนขอบเขตการวิจัย  เนื่องจากการทำวิจัยในแต่ละเรื่องเราไม่สามารถที่จะศึกษาได้ครอบคลุมในทุกประเด็น  การกำหนดขอบเขตของการวิจัย  จะทำให้งานวิจัยมีความชัดเจน  และเป็นไปตามวัตถุประสงค์การวิจัยที่ได้กำหนดเอาไว้  ซึ่งในส่วนของขอบเขตการวิจัยนั้น  จะประกอบด้วย                              1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งผู้วิจัยต้องระบุว่าประชากรเป็นใคร  ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวนเท่าไร   และกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีใด                                                                                                                         2.  ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ผู้วิจัยต้องระบุตัวแปรอิสระและตัวแปรตามที่ใช้ในการศึกษาทั้งหมดในงานวิจัยบางเรื่องอาจจะระบุขอบเขตด้านเนื้อหาเข้าไปด้วย เพื่อให้มองเห็นของเขตในการวิจัยได้มากขึ้น    การเขียนขอบเขตการวิจัยนี้  ผู้วิจัยจะต้องครอบคลุมว่าจะศึกษาตัวแปรอะไรบ้าง  ซึ่งควรสอดคล้องกับกรอบความคิดของการวิจัย ( Research  framework )  ควรมีการระบุเหตุผลที่เรานำเอาตัวแปรเหล่านั้นเข้ามาศึกษา  ในกรอบความคิด  ไม่ควรระบุแต่ชื่อตัวแปรที่ศึกษาว่าคืออะไรเท่านั้น  แต่ต้องขยายความให้เห็นแนวคิดเบื้องหลัง  เพื่อให้ผู้อ่านรายงานการวิจัยเข้าใจวิธีคิดหรือทฤษฎีที่ผู้วิจัยใช้เป็นฐานในการกำหนดกรอบแนวคิด      
     ส่วนขอบเขตประชากรนั้น  ผู้วิจัยต้องอธิบายว่ากลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องจริง  แล้วครอบคลุมคนกลุ่มใด   ทำไมเราจึงสนใจที่จะศึกษาเฉพาะกลุ่มเท่านั้น

http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:WEIWI9QQ16YJ :www.oknation.net/blog/manrit/2007/09/30/entry-1+&cd=5&hl=th&ct=clnk&gl=th ได้กล่าวและสรุปไว้ว่า ขอบเขตในการวิจัย ประกอบด้วย
1. ขอบเขตการวิจัยที่ต้องกำหนด
  1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
      ก. ลักษณะของประชากร
      ข. จำนวนประชากร (ถ้าหาได้)
    1.2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย
      ก. ขนาดของกลุ่มเป้าหมาย
      ข. วิธีเลือกกลุ่มเป้าหมาย
   1.3  ตัวแปรที่ศึกษา
     1.3.1  ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) คือ ตัวแปรที่เป็นเหตุ
     1.3.2 ตัวแปรตาม (Dependent Variable) คือ ตัวแปรที่เป็นผล
  2. ขอบเขตเพิ่มเติม (กรณีงานวิจัยเชิงทดลอง)
    ก. ขอบเขตของเนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง
    ข. ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง

        http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:Vb-BpUk6Pz8J:m15 a4ca.multiply.com/journal/item/11+&cd=5&hl=th&ct=clnk&gl=th ได้กล่าวและสรุปไว้ว่า ข้อจำกัดของการวิจัยทางการศึกษา
     1. ความซับซ้อนของเนื้อหาหรือปัญหาที่จะศึกษา
     2. ความยากในการรวบรวมข้อมูล
     3. ความยากในการทำซ้ำ
     4. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยและสมาชิกในกลุ่มตัวอย่าง หรือกลุ่มประชากรมีผลกระทบต่อผลการวิจัย
    5. ความยากในการควบคุมตัวแปรเกิน
    6. เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลทางการศึกษา มีความแม่นยำและเชื่อถือได้ น้อยกว่าเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์

สรุป
      เนื่องจากการทำวิจัยในแต่ละเรื่องเราไม่สามารถที่จะศึกษาได้ครอบคลุมในทุกประเด็น  การกำหนดขอบเขตของการวิจัย  จะทำให้งานวิจัยมีความชัดเจน  และเป็นไปตามวัตถุประสงค์การวิจัยที่ได้กำหนดเอาไว้  ซึ่งในส่วนของขอบเขตการวิจัยนั้น  จะประกอบด้วย             
 1. ขอบเขตการวิจัยที่ต้องกำหนด
  1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
      ก. ลักษณะของประชากร
      ข. จำนวนประชากร (ถ้าหาได้)
    1.2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย
      ก. ขนาดของกลุ่มเป้าหมาย
      ข. วิธีเลือกกลุ่มเป้าหมาย
   1.3  ตัวแปรที่ศึกษา
     1.3.1  ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) คือ ตัวแปรที่เป็นเหตุ
     1.3.2 ตัวแปรตาม (Dependent Variable) คือ ตัวแปรที่เป็นผล
  2. ขอบเขตเพิ่มเติม (กรณีงานวิจัยเชิงทดลอง)
    ก. ขอบเขตของเนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง
    ข. ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง

อ้างอิง
       http://webcache.googleusercontent.com /search?q=cache:_Gj5CxV19NEJ: www.gotoknow.org/posts/399983 +&cd=1 &hl=th &ct=clnk&gl=th .เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2555.
       http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache: WEIWI9 QQ16YJ :www.oknation.net/blog/manrit/2007/09/30/entry-1+&cd=5&hl=th&ct =clnk & gl=th .เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2555.
       http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache :Vb-BpUk6Pz8J: m15a4ca. multipl y.com/journal/ item/11+&cd=5 &hl=th&ct=cl nk&gl=th .เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2555.