หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

1.ชื่อเรื่อง( The Title)


        http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า   ชื่อเรื่องควรมีความหมายสั้น กะทัดรัดและชัดเจน เพื่อระบุถึงเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัย ว่าทำอะไร กับใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด หรือต้องการผลอะไร ยกตัวอย่างเช่น ประสิทธิผลของการใช้วัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันกับทหารในศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ 2547” ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ชื่อที่ยาวมากๆ อาจแบ่งชื่อเรื่องออกเป็น 2 ตอน โดยให้ชื่อในตอนแรกมีน้ำหนักความสำคัญมากกว่า และตอนที่สองเป็นเพียงส่วนประกอบหรือส่วนขยาย เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการใช้ถุงยางอนามัย เพื่อป้องกันโรคของนักเรียนชาย : การเปรียบเทียบระหว่างนักเรียนอาชีวศึกษากับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร 2547”
        นอกจากนี้ ควรคำนึงด้วยว่าชื่อเรื่องกับเนื้อหาของเรื่องที่ต้องการศึกษาควรมีความสอดคล้องกันการเลือกเรื่องในการทำวิจัยเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ที่ต้องพิจารณารายละเอียดต่างๆ หลายประเด็น โดยเฉพาะประโยชน์ที่จะได้รับจากผลของการวิจัย ในการเลือกหัวเรื่องของการวิจัย มีข้อควรพิจารณา 4 หัวข้อ คือ
        1.1 ความสนใจของผู้วิจัย  ควรเลือกเรื่องที่ตนเองสนใจมากที่สุด และควรเป็นเรื่องที่ไม่ยากจนเกินไป
        1.2 ความสำคัญของเรื่องที่จะทำวิจัย  ควรเลือกเรื่องที่มีความสำคัญ และนำไปใช้ปฏิบัติหรือสร้างแนวความคิดใหม่ๆ ได้     โดยเฉพาะเกี่ยวกับงานด้านเวชศาสตร์ครอบครัวหรือเชื่อมโยงกับระบบสุขภาพ
        1.3 เป็นเรื่องที่สามารถทำวิจัยได้  เรื่องที่เลือกต้องอยู่ในวิสัยที่จะทำวิจัยได้ โดยไม่มีผลกระทบอันเนื่องจากปัญหาต่างๆ  เช่น     ด้านจริยธรรม ด้านงบประมาณ ด้านตัวแปรและการเก็บข้อมูล ด้านระยะเวลาและการ บริหาร ด้านการเมือง หรือเกินความสามารถของผู้วิจัย
         1.4 ไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยที่ทำมาแล้ว  ซึ่งอาจมีความซ้ำซ้อนในประเด็นต่างๆ ที่ต้องพิจารณาเพื่อหลีกเลี่ยง ได้แก่ ชื่อเรื่องและ ปัญหาของการวิจัย (พบมากที่สุด) สถานที่ที่ทำการวิจัย ระยะเวลาที่ทำการวิจัย วิธีการ หรือ ระเบียบวิธีของการวิจัย

       1)หัวข้อวิจัยอาจเกิดจากความสนใจ ประสบการณ์ส่วนตัว ภูมิหลัง และปัญหาในการทำงาน เช่น นางสาวปริศนาปฏิบัติงานในตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา รับผิดชอบในการดำเนินจัดกิจกรรมและโครงการต่างๆ เพื่อเสริมประสบการณ์ในการเรียนการสอนแก่นักศึกษา เป็นจำนวน  99โครงการต่อปี ทั้งนี้ จากการประเมินโครงการในแต่ละครั้ง พบว่า ในแต่ละโครงการมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่ำกว่าร้อยละ 50 ดังนั้น นางสาวปริศนาจึงมีความสนใจที่จะทำวิจัย เพื่อจะแก้ไขปัญหาที่เป็นอยู่ในการปฏิบัติงานก็ได้
       2)การอ่านเอกสาร วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ตำรา วารสารวิจัยต่างๆ และปริญญานิพนธ์ต่างๆ บทความต่างๆที่เกี่ยวข้อง รายงานการวิจัย เป็นต้น จากการอ่านทบทวนและการวิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์วรรณกรรมเหล่านี้  จะทำให้เราทราบว่า ทำให้เราทราบถึงช่องว่างหรือโอกาสที่จะต่อยอดทางความคิดได้  หรือเรื่องที่ตนเองสนใจที่จะศึกษาหลังจากการได้อ่านผลงานวิจัยของคนอื่นแล้ว จะได้นำข้อค้นพบจาการทำวิจัยและข้อเสนอแนะที่ผู้วิจัยให้ไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการต่อยอดความคิด หรือเป็นแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่จะทำวิจัยได้  หรือจากการอ่านบทคัดย่อปริญญานิพนธ์/บทคัดย่อ เมื่ออ่านแล้วก็จะเกิดแนวความคิดในการเลือกหัวข้อปัญหาการวิจัยได้ และทราบว่ามีใครทำงานวิจัยอะไรบ้างและลดการทำงานวิจัยซ้ำซ้อนกับผู้อื่นด้วย จากแหล่งอื่นๆ เช่น การวิเคราะห์แนวโน้มของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงในสังคม ตามสภาพเวลาและเทคนิควิทยาการต่างๆ หรือจากข้อโต้แย้ง หรือการวิพากษ์วิจัยของบุคคลที่อยู่ในวงการนั้น ซึ่งบางครั้งจากการประชุม สัมมนาหรือการอภิปรายต่างๆ ในเรื่องที่ตรงกับที่ผู้วิจัยสนใจ หรือจากการศึกษาปัญหาจากสถาบันหรือหน่วยงานต่างๆ ที่มีการทำวิจัย หรือบุคคลที่กำลังทำวิจัยอยู่  เป็นต้น
      3) แหล่งทุนอุดหนุนการวิจัย  นับเป็นอีกแหล่งหนึ่งที่สามารถกำหนดที่มาของหัวข้องานวิจัยได้ โดยแหล่งทุนจะกำหนดหัวข้อกว้างๆให้ทราบว่า ขณะนี้แหล่งทุนนั้นๆกำลังสนใจที่จะสนับสนุนการวิจัยอะไรบ้าง และอาจให้หัวข้อตัวอย่างที่น่าสนใจไว้ ผู้ที่สนใจจะรับทุนอาจดัดแปลงหัวข้อที่แหล่งทุนระบุไว้ให้เข้ากับสภาพของสังคมไทย

         ไพทูรย์  เวทการ  (2540) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า
     1) ชื่อเรื่องมีความชัดเจน รัดกุม และสื่อความหมายได้ครอบคลุมเนื้อหาที่จะวิจัยหรือไม่
     2) ชื่อเรื่องได้มีการระบุปัญหาเป็นการเฉพาะหรือชี้ชัดประเด็นที่จะศึกษาได้เพียงใด
     3) ชื่อเรื่องกว้างหรือแคบเกินไปหรือไม่
     4) การใช้คำขึ้นต้นมีลักษณะเป็นคำนามที่สื่อความหมายได้เพียงใด
     5) การตั้งชื่อจูงใจและดึงดูดความสนใจของผู้อ่านเพียงใด

สรุป
     การตั้งชื่อเรื่องการวิจัย ควรมีดังนี้
   1) ชื่อเรื่องมีความชัดเจน รัดกุม และสื่อความหมายได้ครอบคลุมเนื้อหาที่จะวิจัยหรือไม่
   2) ชื่อเรื่องได้มีการระบุปัญหาเป็นการเฉพาะหรือชี้ชัดประเด็นที่จะศึกษาได้เพียงใด
   3) ชื่อเรื่องกว้างหรือแคบเกินไปหรือไม่
   4) การใช้คำขึ้นต้นมีลักษณะเป็นคำนามที่สื่อความหมายได้เพียงใด
   5) การตั้งชื่อจูงใจและดึงดูดความสนใจของผู้อ่านเพียงใด
ซึ่งอาจจะมีที่มาจากหลายๆแห่งหรือหลายปัจจัย ได้แก่
   1)หัวข้อวิจัยอาจเกิดจากความสนใจ ประสบการณ์ส่วนตัว ภูมิหลัง และปัญหาในการทำงาน เช่น นางสาวปริศนาปฏิบัติงานในตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา รับผิดชอบในการดำเนินจัดกิจกรรมและโครงการต่างๆ เพื่อเสริมประสบการณ์ในการเรียนการสอนแก่นักศึกษา เป็นจำนวน  99โครงการต่อปี ทั้งนี้ จากการประเมินโครงการในแต่ละครั้ง พบว่า ในแต่ละโครงการมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่ำกว่าร้อยละ 50 ดังนั้น นางสาวปริศนาจึงมีความสนใจที่จะทำวิจัย เพื่อจะแก้ไขปัญหาที่เป็นอยู่ในการปฏิบัติงานก็ได้
    2)การอ่านเอกสาร วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ตำรา วารสารวิจัยต่างๆ และปริญญานิพนธ์ต่างๆ บทความต่างๆที่เกี่ยวข้อง รายงานการวิจัย เป็นต้น
    3) แหล่งทุนอุดหนุนการวิจัย  นับเป็นอีกแหล่งหนึ่งที่สามารถกำหนดที่มาของหัวข้องานวิจัยได้ โดยแหล่งทุนจะกำหนดหัวข้อกว้างๆให้ทราบว่า ขณะนี้แหล่งทุนนั้นๆกำลังสนใจที่จะสนับสนุนการวิจัยอะไรบ้าง และอาจให้หัวข้อตัวอย่างที่น่าสนใจไว้ ผู้ที่สนใจจะรับทุนอาจดัดแปลงหัวข้อที่แหล่งทุนระบุไว้ให้เข้ากับสภาพของสังคมไทย


อ้างอิง
   http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2555.
   ไพทูรย์  เวทการ.(2540).ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย.ลำปาง:โรงพิมพ์ช่างแดง
    http://www.elearning.ns.mahidol.ac.th/km/index.php/research-knowledge-section/80-research-general-knowledge-category/217-2011-03-07-02-39-19.html.  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2555.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น