หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

21.เอกสารอ้างอิง (References)

       http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า ในวิทยานิพนธ์ แต่ละเรื่อง จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเขียนวิทยานิพนธ์เรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก (การเขียน เอกสารอ้างอิง ให้อนุโลม ตามคู่มือ การพิมพ์วิทยานิพนธ์ ของบัณฑิตวิทยาลัย)    การเขียนเอกสารอ้างอิงตาม "Vancouver Style"ให้เรียบลำดับ ด้วยนามสกุล ของผู้เขียน ตามด้วยอักษรย่อ ของชื่อต้น และชื่อกลาง ทุกคน แต่ถ้าผู้เขียน มากกว่า 6 คน ให้เขียนเพียง 6 คน แล้วตามด้วย et al


       http://www.unc.ac.th/lib/weblib/reference.html ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า การอ้างอิง หมายถึง การบอกแหล่งที่มาของข้อความที่ใช้อ้างอิง ในเนื้อหาที่นำมาเขียนเรียบเรียง ปัจจุบันในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ นิยมใช้ คือ

1. การอ้างอิงแบบแทรกปนในเนื้อหา ซึ่งมี 2 ระบบ (ส่งศรี ดีศรีแก้ว, 2534 : 78) คือ

     1.1 ระบบนาม - ปี ( Author - date) ระบบนาม - ปี เป็นระบบที่มีชื่อผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์ และเลขหน้า ที่อ้างอิงอยู่ภายในวงเล็บ ดัง
     1.2  ระบบหมายเลข (Number System)  เป็นระบบที่คล้ายคลึงกับระบบนาม - ปี แต่ระบบนี้จะใช้หมายเลขแทนชื่อผู้แต่งเอกสาร

             อ้างอิง มีอยู่ 2 วิธี คือ

             1.2.1 ให้หมายเลขตามลำดับของการอ้างอิง

             1.2.2 ให้หมายเลขตามลำดับอักษรผู้แต่ง


        http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า เอกสารอ้างอิง (references)หรือ บรรณานุกรม (bibliography) ตอนสุดท้ายของโครงร่างการวิจัย  จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเอกสารวิจัยเรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก โดยรูปแบบที่ใช้ควรเป็นไปตามสากลนิยม เช่น Vancouver Style หรือ APA(American Psychological Association) style
  

สรุป

     หนังสืออ้างอิง (Reference Books) คือหนังสือที่ใช้เรื่องราวและข้อเท็จจริง เพื่อใช้ค้นคว้าอ่านประกอบ หรืออ้างอิงเรื่องราวเพียงตอนใดตอนหนึ่งในเล่มเท่านั้น ไม่ใช้หนังสือที่ต้องอ่านทั้งเล่ม เพื่อความสะดวกในการค้นคว้า ห้องสมุดจะจัดแยกหนังสืออ้างอิงออกจากหนังสือธรรมดาและไม่อนุญาตให้ยืมออกนอกห้องสมุดหนังสืออ้างอิงจะมีลักษณะทั่วๆไปดั้งนี้

1.เป็นหนังสือที่มุ่งให้ข้อเท็จจริงและความรู้เป็นสำคัญ

2.รวบรวมความรู้ในสาขาวิชาต่างๆมีขอบเขตกว้างขวางเพื่อใช้ตอบปัญหาทั่วๆไป

3.เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิหลายๆท่าน แต่ละท่านเป็นผู้ที่ มีความรู้ความชำนาญในเรื่องนั้นๆอย่างแท้จริง

4.จัดเรียบเรียงเนื้อเรื่องไว้อย่างมีระเบียบ เพื่อให้ใช้ได้สะดวกและรวดเร็ว

5.มักมีขนาดแตกต่างจากหนังสือธรรมดา เช่นขนาดใหญ่กว่า มีความยาวมาก

6.ไม่จำเป็นต้องอ่านตลอดทั้งเล่ม

7.ไม่อนุญาตให้ยืมออกนอกห้องสมุด เพราะ

   7.1 เป็นหนังสือที่ใช้อ่านชั่วคราวไม่ต้องอ่านทั้งเล่ม

   7.2 ราคาค่อนข้างแพง

   7.3 มักมีขนาดใหญ่

   7.4 บางทีเป็นชุดมีหลายจบ ถ้าเล่มใดเล่มหนึ่งหายไป จะทำให้ประโยชน์ของหนังสือชุดนั้นขาดความสมบูรณ์ไป

   7.5 หนังสืออ้างอิงมีผู้ใช้มาก ห้องสมุดจำเป็นต้องจัดหนังสือเหล่านี้ไว้ให้พร้อมสำหรับผู้ใช้อยู่เสมอ

         หนังสืออ้างอิงภาษาไทยจะมีอักษร อ (อ้างอิง) และหนังสืออ้างอิงภาษาอังกฤษจะมี R หรือ Ref (Reference)อยู่เหนือเลขเรียกหนังสือทุกเล่ม


อ้างอิง


      http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm.เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2556.

      http://www.unc.ac.th/lib/weblib/reference.html.เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2556.

      http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2556.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น