หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

5.วัตถุประสงค์ของการวิจัย(Objectives)


       http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/object-list1.htm ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า  การกำหนดวัตถุประสงค์ เป็นการนำเอาแนวความคิดของประเด็นปัญหาวิจัยมาขยายรายละเอียด โดยเรียบเรียงให้เป็นภาษาเขียนที่ชัดเจน เข้าใจง่าย การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยจะต้องเป็นการเขียนจากที่กำหนดปัญหาการวิจัยได้แล้ว
การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย หมายถึง แนวทางหรือทิศทางในการค้นหาคำตอบของปัญหา
- ในการวิจัยเชิงปริมาณ การเขียนวัตถุประสงค์จะระบุถึงตัวแปรที่ต้องการศึกษาและความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับประเด็นที่ผู้วิจัยสนใจ คือ ระบุประชากรที่สนใจ ตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม- ในการวิจัยเชิงคุณภาพ การเขียนวัตถุประสงค์จะชี้ให้เห็นถึงลักษณะของการวิจัย ปรากฏการณ์ ธรรมชาติของกลุ่ม ชุมชน หรือ การวิจัยภายใต้สถานการณ์คำที่ใช้สำหรับการเขียนวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อค้นหา อธิบาย พัฒนา เปรียบเทียบ พิสูจน์ แสดงให้เห็น ฯลฯ
         http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า วัตถุประสงค์ของการวิจัย (objectives) เป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทำวิจัย ต้องชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้ จำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ  
     1.วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective)กล่าวถึงสิ่งที่ คาดหวัง (implication) หรือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนี้ เป็นการแสดงรายละเอียด เกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย ในระดับกว้าง จึงควรครอบคลุมงานวิจัยที่จะทำทั้งหมด ตัวอย่างเช่น เพื่อศึกษาถึงปฏิสัมพันธ์ และความต้องการของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน     
       2.วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective) จะพรรณนาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ในงานวิจัยนี้ โดยอธิบายรายละเอียดว่า จะทำอะไร โดยใคร ทำมากน้อยเพียงใด ที่ไหน เมื่อไร และเพื่ออะไร โดยการเรียงหัวข้อ ควรเรียงตามลำดับความสำคัญ ก่อน หลัง ตัวอย่างเช่น                 
         2.1    เพื่อศึกษาถึงรูปแบบปฏิสัมพันธ์และการปรับตัวของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน 
         2.2    เพื่อศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบครัว และชุมชน
       http://www.vcharkarn.com/vblog/114763/6 ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objective of Research)  การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ดีนั้น  ผู้รู้ทั้งหลายมักกล่าวว่าควรระบุให้ชัดเจนเป็นรายข้อไม่ควรให้เป็นลักษณะของการบรรยาย  ทั้งนี้เพื่อความสะดวกง่ายดายในการตรวจสอบว่าการวิจัยได้ดำเนินไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยแล้วหรือไม่  การเขียนวัตถุประสงค์นั้นมักจะคำนึงถึงสิ่งอันเป็นหลักเป็นหัวใจดังต่อไปนี้คือ
1. ความชัดเจนของวัตถุประสงค์
2. ความเฉพาะเจาะจงของวัตถุประสงค์ของการวิจัย
3. ความเป็นไปได้ในการพิสูจน์วัตถุประสงค์
4. ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย และความสัมพันธ์สอดคล้องกับหัวข้อเรื่องตลอดจนความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับสมมติฐานของการวิจัย (Hypothesis)
    การกล่าวถึงความชัดเจนของวัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้มักจะเป็นการกล่าวที่ควบคู่กันไปกับเรื่องการตั้งสมมติฐานในการวิจัยเป็นหลัก  ทั้งนี้เพราะเรื่องทั้งสองเรื่องนี้จำต้องสอดคล้องกันอยู่เสมอ การตั้งวัตถุประสงค์ของการวิจัยขึ้นนั้นเป็นเสมือนการตั้งเข็มทิศขึ้นว่าจะเดินไปทางใด  และการตั้งสมมติฐานขึ้นก็เหมือนกับการสร้างความเชื่อว่าเราควรเดินตรงไปตามทางที่ได้ตั้งเข็มไว้แล้วนั้น  เช่นเชื่อว่าเส้นทางที่เราจะเดินไปถึงนั้นเป็นทางที่มีน้ำจืดอยู่เป็นอันมาก ฯลฯ ถ้าเมื่อใดก็ตามที่การเดินไปตามที่กำหนดไว้ไม่ทำให้เราพบน้ำจืด  เราก็เพียงแต่รู้ว่าสมมติฐานของเราไม่ถูกต้อง  เราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ที่ตั้งอยู่เดิม  เพียงแต่ให้คำตอบตรงไปตามที่เราเห็น  ตามที่ได้ตังสมมติฐานไว้แล้วนั้น
    ข้อที่ควรพิจารณาเกี่ยวกับสมมติฐานก็คือ  ความสามารถในการพิสูจน์สมมติฐาน  ความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์  ความเฉพาะเจาะจงและความชัดเจนของสมมติฐานนั้น  ความสอดคล้องกับเครื่องมือที่ใช่ในการวิจัยและกลุ่มตัวอย่าง  ความสัมพันธ์กับวิธีการดำเนินการวิจัย (Methodology)     เป็นต้น   สิ่งที่ผมได้พูดมานี้ขออย่าได้เข้าใจผิดว่าผมได้เป็นคนพูดแต่เพียงคนเดียวนะครับ ใครๆอีกหลายๆท่านที่เป็นนักวิจัยผู้ทรงคุณวุฒิต่างก็พูดกันมาอย่างนี้ทั้งนั้น  ผมเองได้สิ่งเหล่านี้มาก็ด้วยการศึกษาอ้างอิงจากท่านเหล่านั้นเหมือนกัน

  สรุป
        วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objective of Research) เป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทำวิจัย ต้องชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้ จำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ  
   1.วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective)กล่าวถึงสิ่งที่ คาดหวัง (implication) หรือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
   2.วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective) จะพรรณนาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ในงานวิจัยนี้ โดยอธิบายรายละเอียดว่า จะทำอะไร โดยใคร ทำมากน้อยเพียงใด ที่ไหน เมื่อไร และเพื่ออะไร
โดยมีวิธีการเขียนคือ การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย หมายถึง แนวทางหรือทิศทางในการค้นหาคำตอบของปัญหา
- ในการวิจัยเชิงปริมาณ การเขียนวัตถุประสงค์จะระบุถึงตัวแปรที่ต้องการศึกษาและความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับประเด็นที่ผู้วิจัยสนใจ คือ ระบุประชากรที่สนใจ ตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม- ในการวิจัยเชิงคุณภาพ การเขียนวัตถุประสงค์จะชี้ให้เห็นถึงลักษณะของการวิจัย ปรากฏการณ์ ธรรมชาติของกลุ่ม ชุมชน หรือ การวิจัยภายใต้สถานการณ์คำที่ใช้สำหรับการเขียนวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อค้นหา อธิบาย พัฒนา เปรียบเทียบ พิสูจน์ แสดงให้เห็น ฯลฯ

อ้างอิง
     http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1 /Duddeornweb/object-list1.htm.เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555.
     http://blog.eduzones.com/jipatar /85921.เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555.
      http://www.vcharkarn.com /vblog/ 114763/6 .เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น