หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

12.ระเบียบวิธีการวิจัย(Research Methodology)


http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:6wXp4W5yBAwJ :graduate.east.spu.ac.th/KM/AcademicWriting(F)/unit2/U2_7/01.html+&cd=4&hl=th&ct=clnk&gl=th ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า ระเบียบวิธีวิจัย กล่าวถึงขั้นตอนและกระบวนการวิจัย ในขั้นตอนนี้ควรจะแสดงถึงโครงสร้างของความรู้ให้ผู้อ่านได้ทราบถึงเงื่อนไขหรือวิธีการที่การทดลองหรือการศึกษาวิจัยนั้นได้กระทำขึ้น ควรรวมถึง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผู้อ่านประเมินความน่าเชื่อถือของระเบียบวิธีวิจัย และเป็นการย้ำว่าสามารถทดลองหรือศึกษาซ้ำได้โดยใช้ระเบียบวิธีเดียวกัน หากบางประเด็นมีรายละเอียดมากให้ใส่ไว้ในภาคผนวก
ระเบียบวิธีวิจัยต้องมีข้อมูลต่อไปนี้
                การออกแบบการวิจัย  Overview of the study (design)
                ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง/กลุ่มผู้ให้ข้อมูล Population/sample
                สถานที่ Location
                ข้อจำกัด Restrictions/Limiting conditions
                การเลือกกลุ่มตัวอย่าง/ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล Sampling technique
                ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยหรือศึกษา Procedures/Methods/Methodology
                วัตถุที่ใช้ (เช่น ในการทดลอง) Materials เครื่องมือวิจัย instruments
                ตัวแปร Variables
                สถิติที่ใช้ Statistical treatment
                การวิเคราะห์ข้อมูล data analysis

       http://blog.eduzones.com ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า รูปแบบการวิจัยเป็นการให้รายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยว่าแต่ละขั้นตอนจำทำอย่างไร โดยทั่วไปเป็นการให้รายละเอียดในเรื่องต่อไปนี้ คือ
        1.  วิธีวิจัย จะเลือกใช้วิธีวิจัยแบบใด เช่น จะใช้การวิจัยเอกสาร การวิจัยแบบทดลอง การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือจะใช้หลายๆ วิธีรวมกัน ซึ่งก็ต้องระบุให้ชัดเจนว่าจะใช้วิธีอะไรบ้าง
        2.  แหล่งข้อมูล จะเก็บข้อมูลจากแหล่งใดบ้าง เช่น จะเก็บข้อมูลทุติยภูมิ จากทะเบียนราษฎร์ สมุดสถิติรายปี สำมะโนประชากรและเคหะ ฯลฯ หรือจะเป็นข้อมูลปฐมภูมิ จากการสำรวจ การสนทนากลุ่ม การสังเกต การสัมภาษณ์ระดับลึก ฯลฯ เป็นต้น
       3.  ประชากรที่จะศึกษา ระบุให้ชัดเจนว่าใครคือประชากรที่ต้องการศึกษา และกำหนดคุณลักษณะของประชากรที่จะศึกษาให้ชัดเจน เช่น เพศ อายุ สถานภาพสมรส ศาสนา เขตที่อยู่อาศัย บางครั้งประชากรที่ต้องการศึกษาอาจไม่ใช่ปัจเจกบุคคลก็ได้ เช่น อาจเป็นครัวเรือน หมู่บ้าน อำเภอ จังหวัด ฯลฯ ก็ได้
        4.  วิธีการสุ่มตัวอย่าง ควรอธิบายว่าจะใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใด ขนาดตัวอย่างมีจำนวนเท่าใด จะเก็บข้อมูลจากที่ไหน และจะเข้าถึงกลุ่มตัวอย่างได้อย่างไร
        5.  วิธีการเก็บข้อมูล ระบุว่าจะใช้วิธีการเก็บข้อมูลอย่างไร มีการใช้เครื่องมือและทดสอบเครื่องมืออย่างไร เช่น จะใช้วิธีการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ การสัมภาษณ์แบบมีแบบสอบถาม การสังเกต หรือการสนทนากลุ่ม เป็นต้น
        6.  การประมวลผลข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล ระบุการประมวลผลข้อมูลจะทำอย่างไร จะใช้เครื่องมืออะไรในการประมวลผลข้อมูล และในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือการทดสอบสมมติฐานจะทำอย่างไร จะใช้สถิติอะไรบ้างในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้สามารถตอบคำถามของการวิจัยที่ต้องการได้

       http://www.gotoknow.org ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า ระเบียบวิธีการวิจัยหรือวิธีการวิจัย นั้นแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงวิตรรก (Rational research methodology) และระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์ (Empirical research methodology) ซึ่งกล่าวถึงรายละเอียดได้ดังนี้
                1. ระเบียบวิธีวิจัยเชิงวิตรรก เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระเบียบวิธีวิจัยเชิงเหตุผล ได้รับอิทธิพลจากสำนักคิดทางญาณวิทยาเหตุผลนิยม (Rationalism) ดังนั้นในการวิจัยจึงมีลักษณะเป็นการคิดที่ใช้เหตุผลสรุปโดยอาศัยการนิรนัย (Deductive) ความรู้ที่ได้จึงไม่ใช่ความจริงที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ตัวอย่างความรู้ความจริงที่ได้จากระเบียบวิธีวิจัยประเภทนี้ได้แก่ ปรัชญา ตรรกศาสตร์ เรขาคณิต และคณิตศาสตร์ เป็นต้น
                2. ระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์ เป็นระเบียบวิธีวิจัยที่ได้รับอิทธิพลทางความคิดจากสำนักคิดทางญาณวิทยาประจักษนิยม (Empiricism) ดังนั้นในการวิจัยจึงมุ่งค้นหาความจริงโดยใช้ประสบการณ์ที่ผ่านประสบการณ์ที่ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าเป็นหลัก ด้วยเหตุนี้ ในระเบียบวิธีวิจัยประเภทนี้จึงมักเริ่มต้นด้วยการสังเกต สัมผัสปรากฏการณ์ในธรรมชาติอย่างบ่อยครั้งแล้วอาศัยการสรุปแบบอุปนัย (Inductive) ตัวอย่างความรู้ความจริงที่ได้จากระเบียบวิธีวิจัยประเภทนี้ ได้แก่ ความรู้ความจริงที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ในธรรมชาติทั้งหมด

สรุป
      ระเบียบวิธีการวิจัย(Research Methodology) กล่าวถึงขั้นตอนและกระบวนการวิจัย ในขั้นตอนนี้ควรจะแสดงถึงโครงสร้างของความรู้ให้ผู้อ่านได้ทราบถึงเงื่อนไขหรือวิธีการที่การทดลองหรือการศึกษาวิจัยนั้นได้กระทำขึ้น ควรรวมถึง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผู้อ่านประเมินความน่าเชื่อถือของระเบียบวิธีวิจัย และเป็นการย้ำว่าสามารถทดลองหรือศึกษาซ้ำได้โดยใช้ระเบียบวิธีเดียวกัน หากบางประเด็นมีรายละเอียดมากให้ใส่ไว้ในภาคผนวก โดยทั่วไปเป็นการให้รายละเอียดในเรื่องต่อไปนี้ คือ
    1.  วิธีวิจัย จะเลือกใช้วิธีวิจัยแบบใด
    2.  แหล่งข้อมูล จะเก็บข้อมูลจากแหล่งใดบ้าง
    3.  ประชากรที่จะศึกษา ระบุให้ชัดเจนว่าใครคือประชากรที่ต้องการศึกษา และกำหนดคุณลักษณะของประชากรที่จะศึกษาให้ชัดเจน
    4.  วิธีการสุ่มตัวอย่าง ควรอธิบายว่าจะใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใด ขนาดตัวอย่างมีจำนวนเท่าใด จะเก็บข้อมูลจากที่ไหน และจะเข้าถึงกลุ่มตัวอย่างได้อย่างไร
    5.  วิธีการเก็บข้อมูล ระบุว่าจะใช้วิธีการเก็บข้อมูลอย่างไร มีการใช้เครื่องมือและทดสอบเครื่องมืออย่างไร       
   6.  การประมวลผลข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล ระบุการประมวลผลข้อมูลจะทำอย่างไร จะใช้เครื่องมืออะไรในการประมวลผลข้อมูล และในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือการทดสอบสมมติฐานจะทำอย่างไร จะใช้สถิติอะไรบ้างในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้สามารถตอบคำถามของการวิจัยที่ต้องการได้
    แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงวิตรรก (Rational research methodology) และระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์ (Empirical research methodology)

อ้างอิง

     http://webcache.googleusercontent.com /search?q=cache:6wXp4W5yBAwJ :graduate. east.spu.ac.th/KM/AcademicWriting(F) /unit2/U2_7/01.html+&cd=4&hl=th&ct =clnk &gl=th.เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2555.
     http://blog.eduzones.com .เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2555.
     http://www.gotoknow.org.เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2555.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น