หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

8.ข้อตกลงเบื้องต้น(Assumption)


        http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/assumpt1.htm ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า   ข้อตกลงเบื้องต้น เป็นข้อความที่แสดงถึงสิ่งที่เป็นจริงอยู่แล้วโดยไม่ต้องนำมาพิสูจน์อีก และการเขียนข้อตกลงเบื้องต้นมีประโยชน์ที่จะช่วยให้ผู้อ่านและผู้วิจัยมีความเข้าใจตรงกันในประเด็นที่อาจเป็นปัญหาในการดำเนินการวิจัย และข้องใจในผลการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้นอาจมาจากหลักการ ทฤษฎี หรือผลการวิจัยอื่นๆ เช่น การกำหนดข้อตกลงเบื้องต้นว่า คำตอบของกลุ่มตัวอย่างนั้น ถือว่าเป็นคำตอบที่ตรงกับความรู้สึกที่แท้จริงเป็นต้น เพราะถ้าไม่เชื่อว่ากลุ่มตัวอย่างจะตอบตรงความคิดหรือความรู้สึกที่เป็นจริงแล้ว ข้อมูลที่ได้จะขาดความตรง ผลการวิจัยก็จะไม่เกิดประโยชน์

        ไพศาล  วรคำ(2550:189) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า  เป็นการกำหนดเงื่อนไข ของการวิจัยที่จะต้องเป็นที่ยอมรับได้โดยไม่ต้องพิสูจน์ ทั้งนี้ต้องมีเหตุผลน่าเชื่อถือ

       รวีวรรณ   ชินะตระกูล(2550:56)ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า ผู้วิจัยจำเป็นต้องกำหนดหัวข้อตกลงเบื้องต้นของการวิจัยไว้ก่อนในการทำวิจัยของตน มีอะไรบ้างที่น่าเชื่อว่าเป็นไปได้ ทั้งที่ยังไม่ได้ทดลอง อาจเป็นสิ่งที่เป็นจริงตามธรรมชาติ หรือสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ผู้วิจัยต้องมีเหตุผลที่เหมาะสมมารองรับข้อตกลงเบื้องต้น หรือมีพยานยืนยัน ซึ่งผู้วิจัยจะต้องแสดงให้เห็นว่าผู้อ่านเห็นได้ว่าเป็นจริงตามนั้น เช่น  การทำวิจัยทางพฤกษศาสตร์ในประเทศไทยที่เกี่ยวกับโรคพืช ผู้วิจัยควรตั้งข้อตกลงไว้เบื้องต้นว่า  เน้นการวิจัยโรคพืชในเขตร้อนเท่านั้น เพราะมีตัวอย่างมากและเก็บข้อมูลได้ง่ายกว่าสะดวกกว่าการวิจัยพืชในเขตหนาว

สรุป
       ข้อตกลงเบื้องต้น(Assumption) เป็นข้อความที่แสดงถึงสิ่งที่เป็นจริงอยู่แล้วโดยไม่ต้องนำมาพิสูจน์อีก และการเขียนข้อตกลงเบื้องต้นมีประโยชน์ที่จะช่วยให้ผู้อ่านและผู้วิจัยมีความเข้าใจตรงกันในประเด็นที่อาจเป็นปัญหาในการดำเนินการวิจัย และข้องใจในผลการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้นอาจมาจากหลักการ ทฤษฎี หรือผลการวิจัยอื่นๆ เช่น การกำหนดข้อตกลงเบื้องต้นว่า คำตอบของกลุ่มตัวอย่างนั้น ถือว่าเป็นคำตอบที่ตรงกับความรู้สึกที่แท้จริงเป็นต้น เพราะถ้าไม่เชื่อว่ากลุ่มตัวอย่างจะตอบตรงความคิดหรือความรู้สึกที่เป็นจริงแล้ว ข้อมูลที่ได้จะขาดความตรง ผลการวิจัยก็จะไม่เกิดประโยชน์  เช่น  การทำวิจัยทางพฤกษศาสตร์ในประเทศไทยที่เกี่ยวกับโรคพืช ผู้วิจัยควรตั้งข้อตกลงไว้เบื้องต้นว่า  เน้นการวิจัยโรคพืชในเขตร้อนเท่านั้น เพราะมีตัวอย่างมากและเก็บข้อมูลได้ง่ายกว่าสะดวกกว่าการวิจัยพืชในเขตหนาว

อ้างอิง
      http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/ Duddeorn web/assumpt1.htm.เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2555.
     ไพศาล  วรคำ.(2552).การวิจัยทางการศึกษา.ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
      รวีวรรณ  ชินะตระกูล.(2550).วิธีวิจัยการศึกษา.ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น