หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

22.ภาคผนวก (Appendix)



   
        http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า ภาคผนวก (Appendix)สิ่งที่เอาไว้ที่ภาคผนวก เช่น แบบสอบถาม แบบฟอร์มในการเก็บ หรือบันทึกข้อมูล เป็นต้น เมื่อภาคผนวก มีหลายภาค ให้ใช้เป็น ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค แต่ภาคผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่

        http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า สิ่งที่นิยมเอาไว้ที่ภาคผนวก เช่น แบบสอบถาม แบบฟอร์มในการเก็บหรือบันทึกข้อมูล เมื่อภาคผนวก มีหลายภาค ให้ใช้เป็น ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ฯลฯ แต่ละภาคผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่

         ดร.พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2544 : 392). ได้กล่าวว่า  ภาคผนวกเป็นรายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่ต้องนำเสนอยืนยันเพื่อแสดงถึงการดำเนินการวิจัยอย่างเป็นระบบ และเพิ่มความน่าเชื่อถือของผลงานวิจัยอีกทั้งจะเป็นการช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจรายงานการวิจัยได้ดียิ่งขึ้น และได้เห็นแบบอย่างหรือแนวทางการดำเนินงานในบางประการ ภาคผนวกมีหลายลักษณะซึ่งอาจนำเสนอแยกเป็นหมวดหมู่เป็นภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค ฯลฯ และอาจเรียงลำดับตามขั้นตอนของกระบวนการวิจัย

สรุป
          ภาคผนวก (Appendix)  เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือหรืองานเขียนที่นำมาจัดไว้ตอนท้ายเนื้อเรื่องของหนังสือหรือหรือสิ่งพิมพ์ ส่วนที่นำมาจัดไว้ในภาคผนวกนี้ ได้แก่ ตารางสถิติ แผนที่ รายชื่อ หรือคำอธิบายที่ยาวเกินกว่าจะรวมไว้ในเนื้อหาหรือในรายการเชิงอรรถของหนังสือ รายการในภาคผนวกนี้เป็นส่วนที่นำมาเสริมเนื้อหาของหนังสือให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยทั่วไปภาคผนวกจะปรากฏอยู่ตอนท้ายของเนื้อเรื่อง ตามด้วยหมายเหตุ อภิธานศัพท์ บรรณานุกรม และดัชนี ถ้ารายการในภาคผนวกนี้มีความสำคัญพอ บรรณารักษ์ผู้ทำบัตรรายการจะระบุไว้ในบัตรรายการด้วย  ภาคผนวกในงานวิจัยหรือในวิทยานิพนธ์คือ ส่วนเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องใน วิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ ที่ผู้ทำวิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ นำมาแสดงประกอบไว้เพื่อให้ วิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ก่อนรายการภาคผนวกให้มีหน้าบอกตอนภาคผนวก

อ้างอิง
        http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm.เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2556.
        http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2556.
        พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2544). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสัมคมศาสตร์.กรุงเทพฯ :
 ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร.




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น