หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

13.การรวบรวมข้อมูล(Data Collection)


        http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า การรวบรวมข้อมูล(Data Collection) โดยให้รายละเอียดว่า จะเก็บข้อมูลอะไร? จากแหล่งไหน? (source of data) เก็บอย่างไร? ใครเป็นผู้เก็บ? ใครเป็นผู้บันทึกข้อมูลที่เก็บได้? บันทึกลงที่ไหน? อย่างไร? และกล่าวถึง การควบคุม และตรวจสอบ คุณภาพของข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่รวบรวมมาได้ มีความถูกต้อง แม่นยำ และสมบูรณ์ ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

        http://www.gotoknow.org/posts/396678 ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นขั้นตอนการวิจัยที่ต่อเนื่องมาจากการกำหนดคำถามการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัยและสมมุติฐานการวิจัย  ทั้งนี้ในขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลจะมีประเด็นใหญ่ๆ ที่เกี่ยวข้องต้องพิจารณา ได้แก่  แหล่งข้อมูลการวิจัย  เครื่องมือและวิธีการใช้เก็บรวบรวมข้อมูล  ตลอดจนการพัฒนาและเลือกใช้เครื่องมือ  วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล  ซึ่งมีสาระโดยสังเขปดังต่อไปนี้
แหล่งข้อมูลการวิจัย
     แหล่งข้อมูลการวิจัย  หมายถึง  แหล่งที่จะให้ข้อมูล หรือมีข้อมูลตามที่ผู้วิจัยต้องการ  อาจเป็นบุคคล  สิ่งของ  สัตว์ หรืออื่นๆ ก็ได้  แหล่งข้อมูลการวิจัยที่กล่าวนี้เมื่อนักวิจัยจะทำการเก็บรวบรวมก็ต้องคำนึงถึงลักษณะสำคัญสองส่วน คือ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างของแหล่งข้อมูล
     ประชากร (Population)  หมายถึง  ทุกสิ่ง ทั้งหมดหรือทุกหน่วยของแหล่งข้อมูลที่ผู้วิจัยต้องการศึกษารวบรวม
     กลุ่มตัวอย่าง (Sample group)  หมายถึง  ส่วนหนึ่งที่เป็นตัวแทนประชากรที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา
     
         http://guru.sanook.com ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูล เราอาจดำเนินการเก็บรวบรวมด้วยตนเองหรืออาจนำเอาข้อมูลจากแหล่งที่มีผู้รวบรวมไว้แล้วมาใช้ก็ได้ ที่จำเป็นต้องเก็บรวบรวมเองอาจเป็นเพราะข้อมูลที่เราต้องการใช้ไม่สามารถหาได้เลยไม่ว่าจากแหล่งใด ปัจจัยที่สำคัญในการตัดสินใจว่าจะดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองหรือไม่  คือเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน  โดยทั่วไปการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและเสียค่าใช้จ่ายสูง นอกจากนี้มักจะต้องใช้คนดำเนินงานเป็นจำนวนมากด้วย ดังนั้นในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สำคัญๆ และมีขอบเขตกว้างขวาง เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับประชากร การเกษตร อุตสาหกรรม คมนาคม เป็นต้น  หน่วยงานของรัฐบาลจึงเป็นผู้เก็บรวบรวมและพิมพ์เผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว 

สรุป
         การเก็บรวบรวมข้อมูล(Data Collection) เป็นขั้นตอนการวิจัยที่ต่อเนื่องมาจากการกำหนดคำถามการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัยและสมมุติฐานการวิจัย  ทั้งนี้ในขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลจะมีประเด็นใหญ่ๆ ที่เกี่ยวข้องต้องพิจารณา ได้แก่  แหล่งข้อมูลการวิจัย  เครื่องมือและวิธีการใช้เก็บรวบรวมข้อมูล  ตลอดจนการพัฒนาและเลือกใช้เครื่องมือ  วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล  แหล่งข้อมูลการวิจัย
         แหล่งข้อมูลการวิจัย  หมายถึง  แหล่งที่จะให้ข้อมูล หรือมีข้อมูลตามที่ผู้วิจัยต้องการ  อาจเป็นบุคคล  สิ่งของ  สัตว์ หรืออื่นๆ ก็ได้  แหล่งข้อมูลการวิจัยที่กล่าวนี้เมื่อนักวิจัยจะทำการเก็บรวบรวมก็ต้องคำนึงถึงลักษณะสำคัญสองส่วน คือ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างของแหล่งข้อมูล
เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูล เราอาจดำเนินการเก็บรวบรวมด้วยตนเองหรืออาจนำเอาข้อมูลจากแหล่งที่มีผู้รวบรวมไว้แล้วมาใช้ก็ได้ ที่จำเป็นต้องเก็บรวบรวมเองอาจเป็นเพราะข้อมูลที่เราต้องการใช้ไม่สามารถหาได้เลยไม่ว่าจากแหล่งใด ปัจจัยที่สำคัญในการตัดสินใจว่าจะดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองหรือไม่  คือเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

อ้างอิง
     http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm .เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2555.
     http://www.gotoknow.org/posts/396678.เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2555.
     http://guru.sanook.com.เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2555.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น