หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

19.การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน (Administration Benefits & Application)


         http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า การบริหารงานวิจัย คือ กิจกรรมที่ทำให้งานวิจัยนั้น สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยมีการวางแผน (planning) ดำเนินงานตามแผน (implementation) และประเมินผล (evaluation)ในการเขียนโครงร่างการวิจัย ควรมีผลการดำเนินงาน ตั้งแต่เริ่มแรก จนเสริจสิ้นโครงการ เป็นขั้นตอน ดังนี้
1. วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์
2. กำหนดกิจกรรม (activities) ต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ เช่น
    - ขั้นเตรียมการ (Preparatory Phase)
    - ขั้นปฏิบัติงาน (Implementation Phase)
    - ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล
    - ขั้นการเขียนรายงาน
3. ทรัพยากร (resources) ที่ต้องการ ของแต่ละกิจกรรม รวมทั้งเวลาที่ใช้ ในแต่ละขั้นตอน ทรัพยากรเหล่านั้น ที่มีอยู่แล้ว มีอะไรบ้าง และมีอะไร ที่ต้องการเสนอขอ จำนวนเท่าใด
4. การดำเนินงาน (Implementation) ต้องตัดสินใจ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การจัดสรรงบประมาณ และการรวบรวมข้อมูล สำหรับการบริหารงานบุคคล จำเป็นต้องดำเนินการวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ
   
       เสนาะ ติเยาว์ (2544 : 1) ได้กล่าวไว้ว่า การบริหารงานวิจัย คือ กระบวนการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งแยกตามสาระของความหมายนี้ได้ 5 ลักษณะ
1. การบริหารเป็นการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน
2. การบริหารทำให้งานบรรลุเป้าหมายขององค์การ
3. การบริหารเป็นความสมดุลระหว่างประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
4. การบริหารเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการบริหารจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
5. การบริหารที่จะประสบผลสำเร็จจะต้องสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง
        
         พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว (2545 : 728) การบริหารจัดการเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานการวิจัยให้ประสบความสำเร็จ ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวก คือ โครงการพื้นฐานต้องพอเพียงซึ่งหมายถึงงบประมาณการวิจัย นักวิจัยหน่วยงานเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้ระบบการวิจัยดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ หากมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูง

สรุป
        การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน (Administration Benefits & Application)เป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานการวิจัยให้ประสบความสำเร็จ ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวก คือ โครงการพื้นฐานต้องพอเพียงซึ่งหมายถึงงบประมาณการวิจัย นักวิจัยหน่วยงานเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้ระบบการวิจัยดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ หากมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งแยกตามสาระของความหมายนี้ได้ 5 ลักษณะ
1. การบริหารเป็นการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน
2. การบริหารทำให้งานบรรลุเป้าหมายขององค์การ
3. การบริหารเป็นความสมดุลระหว่างประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
4. การบริหารเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการบริหารจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
5. การบริหารที่จะประสบผลสำเร็จจะต้องสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง
ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
     1. วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์
     2. กำหนดกิจกรรม (activities) ต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้
     3. ทรัพยากร (resources) ที่ต้องการ ของแต่ละกิจกรรม รวมทั้งเวลาที่ใช้ ในแต่ละขั้นตอน ทรัพยากรเหล่านั้น ที่มีอยู่แล้ว มีอะไรบ้าง และมีอะไร ที่ต้องการเสนอขอ จำนวนเท่าใด
     4. การดำเนินงาน (Implementation) ต้องตัดสินใจ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การจัดสรรงบประมาณ และการรวบรวมข้อมูล

อ้างอิง
       http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm.เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 31ธันวาคม 2555.
       เสนาะ ติเยาว์(2544).หลักการบริหาร.พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
      พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว(2545).ศาสตร์แห่งการวิจัยทางการเมืองและสังคม.พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพมหานคร : สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น