หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

2.ความสําคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย(Background&Rationale)


            http://www.gotoknow.org/blogs/posts/261202  ได้กล่าวและรวบรวมไว้ว่า
การเขียนความสำคัญและความเป็นมาของการวิจัย เป็นการเขียนเพื่อตอบคำถามว่าเหตุใดจึงต้องวิจัยเรื่องนี้ ข้อค้นพบจากการวิจัยจะนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร มีความคุ้มค่าหรือไม่ในการวิจัยเรื่องดังกล่าว นิยมเขียนเน้นความเรียงที่เน้นความเป็นเหตุเป็นผล มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเนื้อหาสาระ โดยให้มีความกระชับเข้าใจง่าย การเขียนนำเข้าสู่ปัญหาวิจัยควรเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวปัญหา โดยเขียนให้ข้อมูลที่ชัดเจนว่า ณ เวลาปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยในอดีตที่สามารถตอบปัญหาดังกล่าวได้ และปัญหาดังกล่าวสมควรได้รับการแก้ไขด้วยการหาคำตอบโดยกระบวนการวิจัย ข้อคำตอบที่ค้นพบควรมีลักษณะของการเสริมสร้างความรู้เพิ่มเติมจากข้อค้นพบจากงานวิจัยในอดีต เป็นองค์ความรู้ใหม่ ประเด็นของปัญหาวิจัยไม่มีข้อความเกี่ยวข้องกับคุณค่าหรือความคิดเห็น  ต้องมีการแสดงแหล่งหรือที่มาของข้อมูลที่นำมาอ้างอิงหรือสนับสนุนเหตุผลความจำเป็นในการโน้มน้าวให้ผู้อ่านเห็นคล้อยตามว่าสมควรทำวิจัยเรื่องดังกล่าวด้วย และแหล่งข้อมูลดังกล่าวต้องตรวจ

http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:T0PwjczePZMJ:blog. eduzones.com/jipatar/85921+&cd=3&hl=th&ct=clnk&gl=th ได้กล่าวและรวบรวมไว้ว่า  อาจเรียกต่างๆกัน เช่น หลักการและเหตุผล ภูมิหลังของปัญหา ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย หรือ ความสำคัญของโครงการวิจัย ฯลฯ ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร ต้องระบุว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร มีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร มีความสำคัญ รวมทั้งความจำเป็น คุณค่าและประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัยในเรื่องนี้ โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาอย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร และภายในสภาพที่กล่าวถึง  มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร

http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:Jo6lOwP7aTIJ: www.gotoknow.org/blogs/posts/491771+&cd=3&hl=th&ct=clnk&gl=th ได้กล่าวและรวบรวมไว้ว่า      หนึ่งในความสำคัญของมนุษย์ชาติคือการวิจัย  เพราะเป็นรากเหง้าของความคิดจินตนาการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ที่นำพาวิถีชีวิตก้าวไปสู่ความเจริญทางวิทยาการต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความมั่นคงทั้งทางเศรษฐกิจและทางสังคม
        การวิจัยเกิดมาจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติทั้งที่เป็นวัตถุธรรมและนามธรรมชวนให้ผู้สนใจใฝ่รู้ค้นคว้าที่มาที่ไปของสิ่งนั้น ๆ เช่น ทำไมอินเดียจึงมีที่สุดของที่สุดอยู่ในประเทศนั้น  คือมีความหนาวที่สุดจนภูเขาเป็นน้ำแข็งอย่างหิมาลัย  ขณะเดียวกันอินเดียมีความร้อนสุด ๆ จนมีทะเลทรายที่โยนไข่ลงไปแล้วสุกได้ เป็นต้น  การวิจัยยังนำวิถีมนุษย์ให้รู้จักค้นหาในสิ่งที่ต้องการรู้ด้วยความสงสัยในสิ่งแปลกใหม่  จึงก่อเกิดผลที่ตามมาดังที่เราเห็นได้ไม่ว่าจะเป็น  เครื่องบิน  รถยนต์  โทรศัพท์มือถือ  ยารักษาโรค  ปุ๋ยเคมีชีวภาพและเรื่องอื่น ๆ มีมายมากที่ได้มาจากการวิจัย    ดังตัวอย่างที่เราเห็นได้ชัดเจนเช่น  เมื่อสองพี่น้องกระกูลไรค์  ( Wright ) ชาวอเมริกัน  ที่มีความอยากรู้อยากเห็นและสงสัยว่านกมันบินได้ยังไง  จนกลายมาเป็นเครื่องร่อนบินเหมือนนกได้  ทำให้เราสะดวกในการเดินทางแทนที่จะอาศัยขี่หลังม้าหลังช้างเดินทางไกลเหมือนอย่างในอดีต
        การวิจัยนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้า  ยิ่งมีการวิจัยค้นคว้ามาก  ความเจริญก้าวหน้ายิ่งมากขึ้น  สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์อาจก่อให้เกิดแก่บุคคลอย่างน้อย  3 ประการด้วยกัน  คือ
        1 . เป็นประโยชน์แก้นักสังคมศาสตร์  ทำให้มีความรู้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นของปัจเจกบุคคลหรือกลุ่ม  นอกจากนั้น  ยังทราบถึงเทคนิคและทฤษฎีใหม่ที่ได้จากการศึกษาด้วย
        2 . เป็นประโยชน์แก่ผู้นำชุมชน  และผู้ปฏิบัติงานในวิชาชีพต่าง ๆ  เช่น  นักบริหาร  ครูอาจารย์  กลุ่มผู้ใช้แรงงาน  และผู้บริหารงานในภาครัฐ  บุคคลเหล่านี้ใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยในการปรับปรุงนโยบาย  การวางแผน  และการปฏิบัติงานของตน
        3 . เป็นประโยชน์แก่บุคคลทั่วไป  ก่อให้เกิดความเข้าใจในพลวัต  ( Dynamic ) และศักยภาพ  ( Potential ) ของกิจกรรมบางอย่างของมนุษย์  และใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความสำเร็จในหน้าที่การงานส่วนตัว  และส่วนรวม.  วัลลภ  ลำพาย . ( 2547 : 4 ) .
        การผลิตสินค้าได้คุณภาพอย่างนี้  ได้สร้างผลกำไรมหาศาลกลับมาสู้ประเทศเป็นเพราะมาจากผลงานการวิจัยทั้งสิ้น  แต่อย่างไรก็ตาม.  สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ  ( 2550  : 14 )  ว่า  ประเทศไทยเป็นประเทศที่ถูกกำหนดโดยองค์การสหประชาชาติให้เป็นประเทศที่กำลังพัฒนา  ( developing  country )  อันเนื่องมาจากเมื่อเทียบประเทศไทยกับประเทศที่เจริญรุ่งเรืองในด้านเทคโนโลยีและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ  สังคมแล้ว  นับได้ว่าประเทศไทยยังอ่อนด้อยอยู่มาก

สรุป
         หนึ่งในความสำคัญของมนุษย์ชาติคือการวิจัย  เพราะเป็นรากเหง้าของความคิดจินตนาการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ที่นำพาวิถีชีวิตก้าวไปสู่ความเจริญทางวิทยาการต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความมั่นคงทั้งทางเศรษฐกิจและทางสังคม   การวิจัยเกิดมาจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติทั้งที่เป็นวัตถุธรรมและนามธรรมชวนให้ผู้สนใจใฝ่รู้ค้นคว้าที่มาที่ไปของสิ่งนั้น ๆ เช่น ทำไมอินเดียจึงมีที่สุดของที่สุดอยู่ในประเทศนั้น  คือมีความหนาวที่สุดจนภูเขาเป็นน้ำแข็งอย่างหิมาลัย  ขณะเดียวกันอินเดียมีความร้อนสุด ๆ จนมีทะเลทรายที่โยนไข่ลงไปแล้วสุกได้ เป็นต้น
        เป็นการเขียนเพื่อตอบคำถามว่าเหตุใดจึงต้องวิจัยเรื่องนี้ ข้อค้นพบจากการวิจัยจะนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร มีความคุ้มค่าหรือไม่ในการวิจัยเรื่องดังกล่าว นิยมเขียนเน้นความเรียงที่เน้นความเป็นเหตุเป็นผล มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเนื้อหาสาระ โดยให้มีความกระชับเข้าใจง่าย การเขียนนำเข้าสู่ปัญหาวิจัยควรเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวปัญหา โดยเขียนให้ข้อมูลที่ชัดเจนว่า ณ เวลาปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยในอดีตที่สามารถตอบปัญหาดังกล่าวได้ และปัญหาดังกล่าวสมควรได้รับการแก้ไขด้วยการหาคำตอบโดยกระบวนการวิจัย

อ้างอิง
      http://www.gotoknow.org/ blogs/posts/ 261202 .เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2555.
      http://webcache.googleusercontent.com/search?q =cache: T0PwjczePZMJ:blog. eduzones.com/jipatar/85921+&cd=3&hl=th&ct=clnk&gl=th.เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2555.
      http://webcache. googleusercontent.com /search?q=cache:Jo6lOwP7aTIJ: www.gotoknow.org/blogs/posts/491771+&cd=3&hl=th&ct =clnk&gl=th  .เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2555.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น